ตร.เตือนภัยออนไลน์ หลอกทำใบขับขี่โดยไม่ต้องสอบ และลงทุนทิพย์

วันที่ 16 พ.ค.66 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์  กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มอบหมายให้ พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะทำงาน แถลงข่าวเตือนภัย

พล.ต.อ.สมพงษ์   กล่าวว่าอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเนื่องจากในรอบสัปดาห์ มีข่าวการหลอกลวงทำใบขับขี่โดยไม่ต้องไปสอบที่ขนส่ง  และมีคดีออนไลน์ ที่เกิดขึ้นมาก ได้แก่ การหลอกให้ลงทุนในแอปพลิเคชันปลอมWish Shop สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (7 -13 พ.ค.2566)  มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุดยังเป็นคดีเดิมๆ  5 อันดับ ได้แก่  อันดับ 1)  คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) และ5) คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์สำหรับคดีออนไลน์ที่มิจฉาชีพนำมาหลอกลวงในช่วงนี้ คือ หลอกลวงให้โอนเงินทำใบขับขี่โดยไม่ต้องไปสอบที่ขนส่ง และหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมWishShopซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนต้องเตือนให้ประชาชนได้รับทราบ

พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. กล่าวถึงรายละเอียดภัยออนไลน์ที่น่าสนใจและเกิดขึ้นมากในรอบสัปดาห์
เรื่องที่ 1 มิจฉาชีพแอบอ้างว่าสามารถทำใบขับขี่ได้โดยไม่ต้องไปสอบที่ขนส่ง คดีนี้
มิจฉาชีพโพสรับทำใบขับขี่ใน Facebook โดยไม่ต้องไปสอบที่ขนส่ง มีหน้าม้าโพสรีวิวว่าสามารถทำได้และได้รับใบขับขี่จริง ผู้เสียหายทักสอบถามรายละเอียด มิจฉาชีพให้ผู้เสียหายเพิ่มเป็นเพื่อนในไลน์ แล้วให้ส่งข้อมูลส่วนตัว ชื่อ ที่อยู่ รูปถ่าย และรูปบัตรประชาชน หน้า-หลัง พร้อมทั้งขอเก็บเงินล่วงหน้า ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินให้ก่อน ต่อมาผู้เสียหายติดต่อขอรับใบขับขี่  มิจฉาชีพอ้างว่ามีค่าเอกสาร ค่าดำเนินการ ค่าขนส่ง ต้องโอนเงินเพิ่ม  สุดท้ายไม่ได้รับใบขับขี่ และสูญเสียเงินโดยมีผู้เสียหายแจ้งความเข้ามาเป็นจำนวนมาก

จุดสังเกต

  •  ตรวจสอบในเพจ  มีการกดถูกใจน้อยมาก
  •  มีการกดอีโมชันด้านลบ (โกรธ)
  • ป็นการทำใบขับขี่ในประเทศไทย แต่คนจัดการเพจส่วนใหญ่อยู่ต่างประเทศ
  • กรมการขนส่งไม่มีการทำใบอนุญาตขับขี่รถทุกประเภท โดยไม่ต้องมีการสอบและไม่มีการทำใบอนุญาตขับขี่แบบออนไลน์

วิธีป้องกัน

ตรวจสอบกฎเหล็ก Facebook ดังนี้

  • เป็นบัญชีทางการ (Official)ที่น่าเชื่อถือหรือไม่ (มีเครื่องหมาย✔หรือไม่)
  • มีการกดอิโมชันด้านลบ (โกรธ) หรือไม่

เพจมีความโปร่งใสหรือไม่

  • ประวัติการสร้างเพจ : สร้างมานานหรือไม่
  • ประวัติการเปลี่ยนชื่อ : เปลี่ยนชื่อบ่อยหรือไม่
  • คนจัดการเพจอยู่ที่ใด สอดคล้องกับเพจหรือไม่
  • ในข้อมูลเกี่ยวกับ : มีการสร้างยอดผู้ติดตามให้เห็นว่ามีจำนวนมากหรือไม่

กรณีมีข้อสงสัยให้ติดต่อสอบถามสำนักงานขนส่งทุกสาขาหรือโทร  Call Center 1584

นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่าปัจจุบันมีกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างว่าสามารถทำธุรกรรมกับกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ผ่านทางเพจ Facebook โดยเฉพาะรับทำหรือต่ออายุใบขับขี่รถยนต์  โดยจะนำรูปตราสัญลักษณ์ ขบ. มาใส่ในรูปโฟรไฟล์  หรือนำรูปภาพของผู้ที่ได้รับใบขับขี่มาแอบอ้าง  เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือโดยจะโฆษณาหลอกลวงว่าสามารถออกใบขับขี่หรือต่ออายุใบขับขี่โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานขนส่ง หรือใช้คำว่า “รับทำใบขับขี่โดยไม่ต้องสอบ ไม่ต้องอบรม รอรับได้เลย” และมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอยู่ที่ประมาณ  1,000 – 6,000 บาท เมื่อผู้เสียหายโอนเงินไปแล้วจะเรียกร้องให้โอนเงินเพิ่มอีกและเงียบหายไป ขบ. จึงขอย้ำเตือนว่าหย่าหลงเชื่อหรือทำธุรกรรมกับเพจเหล่านี้โดยเด็ดขาด นอกจากจะทำให้สูญเสียทรัพย์สินและเอกสารส่วนบุคคลแล้ว  ยังเสี่ยงที่จะได้รับใบขับขี่ปลอมและเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานปลอมแปลงเอกสารทางราชการหรือใช้เอกสารราชการปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากพบเพจ Facebook ปลอมให้กดรายงานบัญชีหรือเพจ Facebook (report) หรือสามารถแจ้งเบาะแสมาได้โดยตรง หรือ โทร.1584 ตลอด 24 ชั่วโมง

เรื่องที่ 2 มิจฉาชีพชักชวนให้ลงทุนในแอปพลิเคชันปลอมWish Shop โดยโฆษณาทางFacebook ชักชวนให้ลงทุนโดยใช้รูปและโปรไฟล์ที่น่าเชื่อถือ ผู้เสียหายหลงเชื่อทักสอบถาม มิจฉาชีพคนที่ 1 จึงให้แอดไลน์ มิจฉาชีพคนที่ 2 เพื่อแจ้งรายละเอียดการทำงาน โดยให้ผู้เสียหายโหลดแอปพลิเคชัน Wish ปลอม(นอก Play Store) สมัครสมาชิก และตั้งชื่อร้าน โดยให้ทำตามขั้นตอน เริ่มจากลงทะเบียน เลือกสินค้ามาขาย โดยมีเงื่อนไขและจำนวนที่จะทำให้ผ่านภารกิจและต้องเติมเงินก่อนขายทุกครั้ง ช่วงแรกให้สั่งซื้อสินค้าครั้งละ 3 ชิ้น และสามารถถอนเงินทุนและกำไรคืนได้  แต่ช่วงหลังจะมีเงื่อนไขเพิ่มขึ้นมา คือ สินค้าต้องถึงมือลูกค้า และต้องเคลียร์สินค้าทุกชิ้นก่อน จึงจะได้ถอนเงินได้ ผู้เสียหายเริ่มติดปัญหา เช่น ออร์เดอร์ของลูกค้ามีราคาสูงขึ้น ทำให้ต้องเติมเงินเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้า หรือ มีจำนวนออร์เดอร์ใหม่เข้ามาจำนวนมาก หรือ สินค้าไปไม่ถึงมือลูกค้า ผู้เสียหายจึงขอปิดร้าน แต่มิจฉาชีพอ้างว่ายังมีออร์เดอร์ค้างอยู่ และถ้าจะปิดหรือถอนเงินจะต้องเสียค่าใช้จ่าย 1) ค่าปิดร้าน 2) กรณีถอนเงิน ต้องจ่ายภาษี 7% 3) ค่าธรรมเนียมโอน 5% 4) ค่าบริการโอนเงิน 15% และ 5) อ้างว่าเงินสะสมในร้านมีจำนวนมากเกิน 2 ล้าน ถูกจำกัดโดยระบบ ต้องโอนยอด 30% เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นบัญชีของผู้เสียหาย โดยจะหลอกให้โอนเงินทีละขั้นตอน หากไม่ทันเวลาจะถูกหัก 10%ของยอดเงิน เมื่อโอนเงินแล้ว จึงจะหลอกขั้นตอนต่อไป และทุกครั้งจะหลอกว่าจะโอนเงินคืนทั้งหมด

จุดสังเกต

การเปรียบเทียบของปลอม-ของจริง

  • ปัจจุบันแอปพลิเคชั่นWish ยังไม่รองรับการซื้อขายสินค้าในประเทศไทย
  • Wish เป็นแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่นิยมใช้ไลน์ในการสนทนาแบบ ข้อความด่วน ฉะนั้นในไลน์ จึงไม่มีบัญชี Wish ที่เป็นทางการ
  • เนื้อหาภาษาไทยในแอป และฝ่ายบริการลูกค้า การสนทนาทางไลน์ ใช้การแปลคำจากภาษาต่างประเทศ

วิธีป้องกัน

  • ศึกษากลโกงของมิจฉาชีพจากแหล่งความรู้ต่างๆ  เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ
  • ตรวจสอบกับทางบริษัทหรือร้านค้าทุกครั้งก่อนทำภารกิจใดๆ
  • การทำงานหรือทำภารกิจใดๆ  ที่ต้องมีการโอนเงินให้ก่อน  ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นกลโกง
  • ของมิจฉาชีพ
  • หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ Apple Store เท่านั้นไม่ควรดาวน์โหลดจากลิ้งค์หรือข้อความที่มีคนส่งให้


เรื่องที่ 3 มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงหลอกโอนเงิน โดยส่ง SMS แจ้งว่าเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจดเลขมิเตอร์เกิน ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ โดยเพิ่มเพื่อนใน line กับมิจฉาชีพซึ่งใช้ชื่อสำนักงานการไฟฟ้า และอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงแล้วส่งลิงก์มาให้หลงเชื่อและกดลิงก์ เพื่อให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอพพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ แล้วโอนเงินออกจากบัญชีผู้เสียหาย

วิธีป้องกัน

ไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์ในSMS แปลกปลอมหรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้ง


กรณีมีการส่งSMS ที่ผิดปกติ  ควรโทรศัพท์ตรวจสอบกับการไฟฟ้านครหลวงMEA call center โทร. 1130 โดยตรง
www.who.is กรณีมีการส่ง Link แปลกปลอม  ให้ตรวจสอบจากเวบไซต์ หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ Apple Store  เท่านั้นไม่ควรดาวน์โหลดจากลิ้งค์หรือข้อความที่มีคนส่งให้
พล.ต.อ.สมพงษ์  ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.กล่าวว่า การระงับการทำธุรกรรมและอายัดบัญชีตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  พ.ศ.2566 ห้วงวันที่ 17 มี.ค.66 – 5 พ.ค.66 มีรายละเอียด ดังนี้
การดำเนินการตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี   พ.ศ.2566(บัญชีม้า)ห้วงวันที่ 17 มี.ค.66-17 เม.ย.66 มี ดังนี้


จากการเตือนภัยออนไลน์มิจฉาชีพแอบอ้างธนาคารส่ง SMS แล้วแนบลิงก์ให้กดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สำหรับสัปดาห์นี้มิจฉาชีพแอบแฝงส่งข้อความ(SMS)โดยใช้ช่องทางเดียวกับหน่วยงานทางการเงิน หรือหน่วยงานที่มีส่วนติดต่อกับประชาชนและแนบลิงก์ให้กด เพื่อหลอกให้โอนเงินกรณีนี้ขอให้ประชาชนตระหนักถึงการแจ้งเตือนจากสมาคมธนาคารไทยว่า ปัจจุบันธนาคารหน่วยงานทางการเงิน งดการส่งลิงก์ทุกประเภทผ่านSMS อีเมลและงดส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญเช่นชื่อผู้ใช้งานรหัสผ่านและเลขบัตรประชาชนผ่านโซเชียลมีเดียหากพบว่ามีการส่งลิงก์ให้กด เป็นSMS ที่มาจากมิจฉาชีพอย่างแน่นอน กรณีสงสัยว่าจะถูกมิจฉาชีพหลอกให้โทรสายด่วนของแต่ละธนาคารได้ตลอด 24 ชั่วโมง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ต้องการทำใบขับขี่ขอให้ตระหนักว่าการทำใบขับขี่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของสำนักงานขนส่ง  อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพ และหากมีข้อสงสัยให้ติดต่อสอบถามรายละเอียดจากสำนักงานขนส่งในพื้นที่ หรือโทร Call Center 1584กรณีต้องการลงทุนขอให้ตระหนักว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ควรศึกษาวิธีการลงทุนอย่างละเอียด  และควรปรึกษาจากผู้ให้บริการด้านการลงทุนที่ถูกกฎหมาย  และเพื่อให้รู้เท่าทันภัยออนไลน์ในรูปแบบใหม่  สามารถติดตามข้อมูลการแจ้งเตือนภัยออนไลน์ได้จาก เวบไซต์ และเพจ เตือนภัยออนไลน์ หรือโทรสายด่วน 1441